วันนี้ (17 ธ.ค. 66) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึง ผลลัพธ์จากการจัดกิจกรรม Kick off วันดินโลกของกระทรวงมหาดไทย ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด “ดินดี น้ำดี ชีวิตมีสุข อย่างยั่งยืน” หรือ “Sustainable Soil and Water for better life” สอดคล้องกับแคมเปญของ FAO “Soil and Water: a source of life” ที่จัดขึ้นทั่วประเทศระหว่างวันที่ 1-15 ธันวาคม 2566และ การ Kick off งานวันดินโลก ณ อำเภอแม่เเจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา ว่า มีจำนวนการปักหมุดกิจกรรม บน FAO World map 329 แห่ง (ข้อมูลจาก FAO website https://www.fao.org/world-soil-day/worldwide-events/en/) จัดกิจกรรม 966 กิจกรรม มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 105,317 คนโดยมีกลุ่มผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ คือ ประชาชนทั่วไป 41,052 คน เกษตรกรจำนวน 15,886 คน นักเรียน/นักศึกษา 12,603 คน องค์การมหาชน 4,964 คน ผู้เชี่ยวชาญ 3,062 คน สื่อมวลชน 1,116 คน ภาคประชาสังคม 1,035 คน พระ/บุคลากรด้านศาสนา 828 คน และ ผู้เข้าร่วมอื่นๆ 24,771 คน (ข้อมูลจากระบบ MOI Warroom https://moiwarroom.dopa.go.th/soil/)
จากการจัดกิจกรรมวันดินโลก จำนวน 966 กิจกรรม พบว่า แต่ละพื้นที่ร่วมกันจัดกิจกรรมครอบทั้ง 18 ประเภทกิจกรรมสอดคล้องกับที่ FAO ได้กำหนด โดย พบว่า มากสุด 3 ลำดับแรกคือ 1) กิจกรรมร่วมกับเกษตรกร (Activities with farmers) 241 กิจกรรม 2) นิทรรศการเกี่ยวกับดิน (Exhibition on soil) 144 กิจกรรม 3) ภาคสนาม/เฉลิมฉลอง (Field work/celebration) 235 กิจกรรม ได้มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์กิจกรรมวันดินโลก เพื่อให้ประชาชนรับรู้ ช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่างๆ ดังนี้ 645 พื้นที่ 1) หอกระจายข่าว 323 พื้นที่ 2) MOI WAR ROOM 645 พื้นที่ 3) สื่อออนไลน์ Social Media 225 พื้นที่ และ 4) ช่องทางอื่น ๆ 52 พื้นที่
นอกจากนี้ ได้มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในการสร้างความตระหนักรู้ในวงกว้างทั้งหมด พบว่า มีการพูดถึง MOI World Soil day ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ ทั้ง Facebook, Forums ,Twitter, Youtube , Instagram , LinkedIn , Online News , Blogs ฯลฯ มากถึง 33 ล้านคน แสดงให้เห็นว่ามีผู้สนใจที่พร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม World Soil Day ของกระทรวงมหาดไทยเป็นอย่างมาก
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ เปิดเผยว่า ผลลัพธ์จากการจัดกิจกรรมวันดินโลกของกระทรวงมหาดไทย ปี 2566 ภายใต้ธีม “ดินดี น้ำดี ชีวิตมีสุข อย่างยั่งยืน” หรือ “Sustainable Soil and Water for better life และ kick off ที่ แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ระหว่าง 14-15 ธค.2566 กระทรวงมหาดไทยได้ทำการประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลการรับรู้ผ่านสังคมออนไลน์ พบว่า มีผู้พูดถึง MOI World Soil day ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ ทั้ง Facebook, Forums ,Twitter, Youtube , Instagram , LinkedIn , Online News , Blogs มากที่สุด เว็บไซต์ สื่อต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมากถึง 550% โดยมีผู้เข้ามามีส่วนร่วม Engagement เพิ่มขึ้น 27% และ Potential Reach จำนวนของกลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสเข้าถึงประมาณ 33.1 ล้านคน ซึ่งการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกมีการพูดถึงไปในทางบวก 50% และไม่มีความรู้สึกเชิงลบต่อการสื่อสารของกิจกรรม
นอกจากนี้ ยังได้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันดังกล่าว ทำแบบประเมินเพื่อวัดความพึงพอใจ พบว่า จำนวนผู้เข้าร่วมทำแบบประเมินการสร้างการรับรู้และความตระหนักในเรื่องดินและน้ำ “MOI World Soil Day” มีทั้งหมด 7,384 คน แบ่งเป็น เพศชาย 3,315 คน คิดเป็นร้อยละ 44.9% เพศหญิง 3,972 คิดเป็นร้อยละ 53.8 ซึ่งสามารถแบ่งช่วงอายุ ได้ 4 ช่วง ประกอบด้วย ผู้เข้าร่วมงานแบ่งตามอายุ 1) อายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 3,245 ร้อยละ 43.9 2) อายุ 30-40 ปี จำนวน 1,844 ร้อยละ 25 3) อายุ 20-30 ปี จำนวน 1,221 ร้อยละ 16.5 และ 4) อายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 1,074 ร้อยละ 14.5
“และหากแบ่งผู้เข้าร่วมงานตามกลุ่มสามารถจำแนกได้ 9 ประเภทเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1) ประชาชนทั่วไป จำนวน 1,871 คน คิดเป็นร้อยละ 25.7 2) นักเรียน/นักศึกษา จำนวน 1,302 คน คิดเป็นร้อยละ 17.6 3) กลุ่มเกษตรกร จำนวน 912 คน คิดเป็นร้อยละ 12.4 4) กลุ่มนักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 370 คน คิดเป็นร้อยละ 5 5) กลุ่มสื่อมวลชน จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 0.6 6) กลุ่มผู้ประกอบการภาคเอกชน จำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 1.2 7) กลุ่มผู้นำทางศาสนา (พระ) จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 0.2 8) กลุ่มภาคประชาสังคม/NGO จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 0.2 และ9) กลุ่มอื่น ๆ (เช่น บุคลากรภาครัฐ) จำนวน 2,763 คน คิดเป็นร้อยละ 37.4 ซึ่งจากการประเมินผลการประเมินความสำเร็จของงานมีผลการประเมิน 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการสร้างความตะหนักรู้ ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยมากที่สุด จำนวน 3,970 คน เห็นด้วยมาก 2,883 คน และเห็นด้วยปานกลาง 598 คน2) ด้านการสร้างการรับรู้ ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยมากที่สุด จำนวน 3,962 คน เห็นด้วยมาก 2,838 คน และ เห็นด้วยปานกลาง 545 คน และสุดท้าย 3) ด้านผลการประเมินภาพรวมของการจัดงาน มีผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยมากที่สุด 4,861 คน เห็นด้วยมาก 2,153 คน และเห็นด้วยปานกลาง 327 คน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า เป้าหมายของการขับเคลื่อนกิจกรรมวันดินโลกของกระทรวงมหาดไทยในปีนี้ คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความยั่งยืนในทุกมิติ ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของดินเเละน้ำ ด้วยเเนวคิด “ดินดี น้ำดี ชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน” เพื่อสร้างรากฐานของการพัฒนาคน ให้คนไปพัฒนาพื้นที่ เกิดความมั่นคงทางอาหาร พืชสมุนไพร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม เเละที่อยู่อาศัย ควบคู่กับการมีวิถีชีวิตที่พอเพียงตามฐานานุรูปของแต่ละครอบครัว รวมถึงการมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนเเปลงอย่างมีเหตุเเละผลในการดำรงชีวิต ที่สำคัญทุกครัวเรือนจะต้องมีความรู้เเละคุณธรรม เพื่อต่อยอดพื้นฐานที่มีให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่ออีกว่า กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดวิสัยทัศน์การขับเคลื่อนภารกิจในปี พ.ศ. 2566 – 2570 ว่า “ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชน เข้มแข็ง เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน บนฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ทำให้พี่น้องประชาชนมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต ควบคู่กับการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระยะกลาง และระยะยาว โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ำให้กระทรวงมหาดไทยบูรณาการร่วมกับทุกภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อทำให้ พี่น้องประชาชน มีการพัฒนาคุณภาพชีวิต สามารถสร้างรายได้ และมีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไป ประยุกต์ ใช้ ได้อย่างเป็นรูปประธรรม ซึ่งในการเดินทางนำนโยบายที่กล่าวมานี้ไปขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ต้องเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ ตั้งเเต่ครอบครัว ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้พื้นฐานต้องดีมีคุณภาพ แล้วจึงจะถ่ายทอดไปสู่ลูกสู่หลาน สู่ชุมชน สังคม เเละในระดับประเทศ หากมองย้อนกลับมาเเล้วมองให้ละเอียดทุกท่านจะพบว่า การสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในโครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง สิ่งสำคัญที่เเท้จริง คือ อาหาร ซึ่ง ป็นจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง ทั้งความอบอุ่นในครอบครัว พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ได้ทำกิจกรรมปลูกผักร่วมกับลูกหลาน สร้างรอยยิ้ม ผู้ปกครองก็ได้สอนบุตรหลานมีความใกล้ชิดทำให้มีภูมิคุ้มกันต่ออบายมุขทั้งหลาย และพอได้ผัก หรือ ผลผลิตมา ก็นำไปประกอบอาหารเหลือก็เเจกจ่ายเเบ่งปัน ส่งต่อรอยยิ้มเเละความสุขให้กับชุมชนต่อ ๆ ไป ครอบครัวอื่นเห็นเขาก็อยากที่จะทำเป็นแบบอย่างซึ่งตรงนี้เอง เราในฐานะกระทรวงมหาดไทยต้องช่วยกันสร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวมให้กับทุกคนในชุมชนให้รู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย ด้วยการเห็นคุณค่าของดินที่เป็นแหล่งอาหารของพืช อาจใช้วิธีการบำรุงดินด้วยปุ๋ยหมักธรรมชาติ หรือถังขยะเปียกลดโลกร้อน และการทิ้งขยะให้ลงถังพร้อมคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เพื่อลดมลพิษที่เกิดต่อเเหล่งน้ำ และกลิ่นเน่าเหม็นในชุมชน
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเน้นย้ำว่า บางท่านอาจไม่เข้าใจว่ากระทรวงมหาดไทยเกี่ยวข้องอะไรกับการขับเคลื่อนกิจกรรมวันดินโลก แต่หากท่านพินิจพิเคราะห์อย่างละเอียดถ่องเเท้จะพบว่า การจัดกิจกรรมวันดินโลกนี้เอง เป็นเพียงหนทางหนึ่งที่จะนำพาผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านไปเรียนรู้การสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น เราทุกคนร่วมกันอนุรักษ์ดิน พวกเราไม่ทำลายดิน ไม่ใช้สารเคมี หรือไม่สนับสนุนเสื้อผ้าที่ทำจากสีเคมี แล้วหันมาสนับสนุนเลือกซื้อผ้าไทยที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ใช้สีธรรมชาติ ท่านก็เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนกิจกรรมวันดินโลกของกระทรวงมหาดไทยแล้ว นอกจากนี้ท่านยังได้ช่วยชุมชนทำให้เหล่าผู้ประกอบการเกิดงานเกิดอาชีพ เกิดรายได้ เพื่อนำรายได้ไปหล่อเลี้ยงชีวิต เเละส่งต่อสนับสนุนสิ่งดี ๆ ต่อไป เสื้อผ้าที่ไม่ใช้สารเคมีก็จะกลายเป็นกระเเสเหมือนผู้คนที่หันมาใส่ใจสุขภาพหันมารับประทานผักปลอดสารผิษ ที่มาจากแปลงผักเกษตรอินทรีย์ หรือ การปลูกพืชผักตามหลัก อารยเกษตร ซึ่งผลผลิตที่ได้ล้วนเต็มไปด้วยคุณภาพและความอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น
“ท้ายนี้ ทุกท่านคงเข้าใจดีแล้วว่า การสนองพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยแท้ เพื่อทำให้ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ไม่มีหนทางที่ตายตัว ทุกหนทางล้วนนำพาพวกเราไปสู่แก่นของการดำรงชีวิต ซึ่งเราทุกคนจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า เพื่อสร้างความยั่งยืนและทำให้โลกใบเดียวของเรานี้คงอยู่คู่กับพวกเราตราบนานเท่านาน โอกาสนี้จึงขอเชิญทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมวันดินโลกของกระทรวงมหาดไทย ภายใต้เเนวคิด ดินดี น้ำดี ชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน ด้วยการอนุรักษ์ดิน อนุรักษ์น้ำ ร่วมทำความดี เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ไปด้วยกัน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวทิ้งท้าย
กองสารนิเทศ สป.มท.
ครั้งที่ 1251/2566 วันที่ 17 ธ.ค. 2566