เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 67 เวลา 15.00 น. ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ วัดจันทรังษี ตำบลหนองหว้า อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประกาศความสำเร็จการขับเคลื่อนหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และเป็นประธานเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ วัดจันทรังษี โดยได้รับเมตตาจากพระพิพัฒน์วชิโรภาส เจ้าอาวาสวัดป่ามหาจีราจารย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยเจ้าคณะตำบลในพื้นที่อำเภอเบญจลักษ์ ทุกตำบล ร่วมพิธี โดยมี นายประสพโชค อยู่สำราญ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นายศรัณย์ศักด์ ศรีเครือเนตร รองอธิบดีกรมการปกครอง นายศิริพันธ์ ศรีกงพลี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายสมลักษณ์ ยกน้อยวงษ์ ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง เขต 14 ร่วมลงพื้นที่ โดยนายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยนางสาวภคนันท์ ศิลาอาสน์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดศรีสะเกษ นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต นายนพ พงศ์ผลาดิศัย นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม นายชัยยงค์ เมธาสุรวิทย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายธาตรี สิริรุ่งวนิช ปลัดจังหวัดศรีสะเกษ นายสุริยา บุตรจินดา หัวหน้าสำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ นายธนเดช พระอารักษ์ นายอำเภอเบญจลักษ์ นายนิวัฒน์ น้อยผาง ผู้เคยดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ 22 อำเภอ ผู้นำท้องที่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการหมู่บ้าน อาสาสมัคร และพี่น้องประชาชน ร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก
โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เดินตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจประชาชนตามคุ้มบริเวณถนนระหว่างหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 15 เพื่อเยี่ยมชมผลการดำเนินงานตามโครงการ “บ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง” “ทางนี้มีผลผู้คนรักกัน” กลุ่มจักสานผู้สูงอายุ การเลี้ยงสัตว์อาหารโปรตีน และการบริหารจัดการขยะ การร้องเพลงพริกมะเขือ และเก็บพืชผักสวนครัว ของตำบลหนองหว้า อำเภอเบญจลักษ์ มอบให้กับพี่น้องประชาชนใช้ประกอบอาหารเลี้ยงในชุมชน
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตนได้มีโอกาสลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพี่น้องประชาชนชาวเบญจลักษ์ครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 ในการตรวจติดตามการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ทำให้ได้เห็นพลังความรักสามัคคีของพี่น้องประชาชนบ้านหนองขาม หมู่ที่ 9 ตำบลหนองงูเหลือม ภายใต้การนำของท่านธนเดช พระอารักษ์ นายอำเภอเบญจลักษ์ พร้อมทั้งได้สัญญาว่าจะมาเยี่ยมอำเภอเบญจลักษ์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้กำลังใจท่านนายอำเภอผู้มีความตั้งอกตั้งใจในการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “บ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง” และ “ทางนี้มีผลผู้คนรักกัน” และแนวพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา “หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” มาช่วยกระตุ้นปลุกเร้าให้ผู้นำท้องที่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพี่น้องประชาชนทั้ง 5 ตำบลของอำเภอเบญจลักษ์ ได้รวมตัวรวมใจดูแลครอบครัว ชุมชน ทำให้ทุกหมู่บ้านของพวกเราทุกคนเป็นหมู่บ้านยั่งยืน
“ขอให้พวกเราทุกคนร่วมกันทำให้ทุกหมู่บ้านเป็น หมู่บ้านยั่งยืน ทำให้พี่น้องประชาชนทุกคนมีความสุข ด้วยการน้อมนำพระดำริ “หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” ขับเคลื่อนให้เกิดมรรคผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน ด้วยการที่พวกเราทุกคนช่วยกันสื่อสารข้อมูลในลักษณะ “ผู้สื่อข่าวจิตอาสา” รายงานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษและนายอำเภอเบญจลักษ์ ว่าทีมตำบลบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ภายใต้การนำของปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล เกษตรตำบล พัฒนากรตำบล ตัวแทนสาธารณสุขผู้รับผิดชอบประจำตำบล พระผู้รับผิดชอบประจำตำบล ได้ลงพื้นที่มาเยี่ยมเยียน ติดตามถามไถ่พวกเราอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิด “ความสุขที่ยั่งยืน” นั้น เราทุกคนต้องช่วยกันทำให้ “ระบบคุ้ม” ที่เป็นการรวมกลุ่มบ้าน คุ้มละ 10 – 25 หลังคาเรือน มีความเข้มแข็งให้ได้ ด้วยการที่อย่างน้อย 15 ครัวเรือนต้องมีการร่วมพูดคุยกันเป็นประจำทุกวัน เพื่อให้เกิดการร่วมคิด ร่วมวางแผนดูแลบ้านเรือนให้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น ช่วยกันดูแลไม่ให้ลูกหลานยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งจะทำให้เกิดการรับประโยชน์ร่วมกัน เช่น หากเราพบว่ามีลูกหลานบ้านไหนเสพยาเสพติด ก็จะได้แจ้งนายอำเภอมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพาไปบำบัดรักษา หรือหากใครที่ทุกข์ยากเดือดร้อนเจ็บไข้ได้ป่วยไม่มีเงินรักษา หรือบ้านไหนมีลูกหลานกำลังตั้งอกตั้งใจเรียนแต่ไม่มีทุนการศึกษา หัวหน้าคุ้มจะได้แจ้งไปยังกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อรายงานปลัดอำเภอ รายงานต่อนายอำเภอ เพื่อบูรณาการสรรพกำลังให้ความช่วยเหลือ ซึ่งนัยสำคัญว่า เรื่องการสื่อสารข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ผู้ว่าฯ และนายอำเภอได้รับรู้และวางแผนช่วยเหลือ หรือโทรสายด่วนศูนย์ดำรงธรรม 1567 เพราะถ้าเราไม่ช่วยกันบอก ไม่ช่วยกันกล่าว ไม่ช่วยกันเล่า ไม่ช่วยกันคุย ความเสียหายมันจะรุนแรงเพิ่มมากขึ้น” นายสุทธิพงษ์ กล่าวเน้นย้ำ
นายสุทธิพงษ์ กล่าวต่ออีกว่า ขอให้พวกเราทุกคนได้ร้อยรวมใจในการทำสิ่งที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทั้งการน้อมนำพระราชดำริด้านการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร “บ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง” และ “ทางนี้มีผลผู้คนรักกัน” รวมถึง “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” และการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ มาใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นการถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสอันเป็นมหามงคลในครั้งนี้ เพราะทุกเรื่องราวที่เราช่วยกันดูแลพี่น้องประชาชนในคุ้มบ้าน ในหมู่บ้าน ในตำบล ในพื้นที่อำเภอของพวกเรา ล้วนแล้วแต่เป็นการแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะพสกนิกรผู้มีความจงรักภักดี ในฐานะลูกของพระเจ้าแผ่นดิน ในฐานะคนไทยใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร บนผืนแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง แห่งนี้ เพราะเราได้ทำตามพระราชปณิธาน ดังพระปฐมบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” และพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เพราะพระองค์ทรงมีเป้าหมายที่ชัดเจนที่จะทรงทำให้ “พสกนิกรของพระองค์มีความสุข”
นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หมู่บ้าน ตำบล ชุมชน ครอบครัว จะมีความสุขได้ ต้องทำตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริ คือ 1. ดูแลส่งเสริมลูกหลานด้วยการฝึกให้ลูกหลานปลูกผักสวนครัว ล้างถ้วยล้างจาน หุงข้าว รู้จักสวดมนต์ไหว้พระก่อนนอน ตื่นเช้าออกจากบ้านก็ให้รู้จักไหว้พ่อแม่ปู่ย่าตายาย ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ขยันหมั่นเพียร ทำการบ้าน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข 2. ดูแลตนเองไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขซึ่งเป็นทางที่นำไปสู่ความเสียหาย/เดือดร้อน 3. ร่วมมือกันเป็นหมู่คณะดูแลทุกข์สุขในระบบคุ้มบ้าน ตามพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้วยพลังจิตอาสา ด้วยน้ำใจไมตรี รื้อฟื้นวิถีชีวิตที่ดีของคนไทยกลับคืนมา ดังที่คนไทยได้เคยมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูล ดูแลซึ่งกันและกัน มีงานการบ้านใครก็ช่วยกันโดยไม่ต้องจ้าง มีงานวัดงานประจำปีก็มาลงแขกเอามื้อสามัคคี โดยคำว่า “จิตอาสา” ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องแบบ “ขอแค่มีใจที่อยากทำความดี”
“ขอให้พวกเราทุกคนช่วยกันลุกขึ้นมาดูแลครอบครัวตนเอง ให้มีการจัดการขยะ จัดการสิ่งแวดล้อม ช่วยเหลือสังคม เป็นหูเป็นตา เพียงแค่เราเอ่ยปากบอกว่า บ้านนี้มีเด็กที่ไม่มีทุนการศึกษา สื่อสารไปยังผู้นำ คือ “ผู้ว่าราชการจังหวัด” และ “นายอำเภอ” เพื่อให้เกิดการทำงานในเชิงระบบร่วมกับประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด และภาคีเครือข่าย ซึ่งพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในทุกเรื่อง ด้วยการเป็นจิตอาสาภาคประชาชน ลุกขึ้นมาช่วยดูแลชุมชน ดูแลตำบล หมู่บ้าน ทำให้พี่น้องประชาชนชาวเบญจลักษ์ และชาวศรีสะเกษทุกคน ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ กล่าวในช่วงท้าย
กองสารนิเทศ สป.มท.
ครั้งที่ 1383/2567 วันที่ 12 ก.ค. 2567