วันนี้ (27 ต.ค.62) พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลโดยกองบัญชาการป้ องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่ งชาติได้ประกาศยกระดับการจั ดการสาธารณภัยขนาดใหญ่ (ระดับ 3) เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2562 ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และจังหวัดร้อยเอ็ด เนื่องจากอิทธิพลพายุ “โพดุล” และ “คาจิกิ” ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิ นของประชาชนเป็นอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์น้ำ ในลำน้ำสายสำคัญได้ลดระดับต่ำ กว่าตลิ่งในทุกจุดและน้ำที่ท่ วมขังในพื้นที่ชุมชนได้แห้งลง คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว และเข้าสู่ช่วงของการฟื้นฟูเพื่ อปรับสภาพการดำรงชีพ ระบบสาธารณูปโภค และความเป็นอยู่ของประชาชนที่ ประสบภัย ให้กลับสู่ภาวะปกติ
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ จึงให้ลดระดับการจัดการสาธารณภั ยขนาดใหญ่ (ระดับ 3) กรณีอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดอุ บลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการจัดการสาธารณภัยขนาดกลาง (ระดับ 2) ตามแผนการป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้ อำนวยการจังหวัด เป็นผู้สั่งการ ควบคุม และบัญชาการในพื้นที่จังหวัด เพื่อประสานการให้ความช่วยเหลื อประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติ ในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกมิติที่เป็นปั ญหาความเดือดร้อนของประชาชน
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า ในห้วงที่ผ่านมาภายใต้การดำเนิ นการตามแนวทางของรัฐบาล กองบัญชาการป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติได้ อำนวยการ ควบคุม กำกับประสานการปฏิบัติโดยบู รณาการร่วมกับหน่วยงาน ทั้งฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ นประชาชนจิตอาสา และภาคเอกชนในการให้ความช่ วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง และพลเอก ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ลงพื้นที่เยี่ ยมผู้ประสบภัยและร่วมกิจกรรมฟื้ นฟูศาสนสถาน และชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี ทำให้เกิดความร่วมมือและบู รณาการในการให้ความช่วยเหลื อประชาชนด้านต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้ 1) ด้านชีวิต กรณีผู้เสียชีวิต มีรายงานแล้ว จำนวน 41 ราย และได้ให้ความช่วยเหลือครอบครั วผู้เสียชีวิตทุกรายแล้ว 2) ด้านที่อยู่อาศัย ขณะนี้ได้บูรณาการหน่วยงานเข้ าช่วยเหลือซ่อมแซมบ้านเรือนให้ ประชาชนแล้ว 13,804 หลัง โดยจะเร่งซ่อมสร้างในส่วนที่ เหลือต่อไป 3) ด้านสิ่งสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า – ประปา – ระบบโทรคมนาคม และเส้นทางคมนาคม) สามารถใช้บริการได้ครบแล้ว และสถานที่ราชการ สถานบริการสาธารณสุข โรงเรียน ศาสนสถาน สามารถใช้บริการได้ตามปกติทุ กแห่ง 4) ด้านการประกอบอาชีพ ในภาคการเกษตร ทั้งด้านการเกษตร ประมง และปศุสัตว์ ได้ทำการสำรวจผลกระทบ โดยบรรเทาความเดือดร้ อนของเกษตรกรด้วยการแจกจ่ายเมล็ ดพันธุ์ อาหารสัตว์ พันธุ์สัตว์น้ำ และซ่อมแซมเครื่องมือประกอบอาชี พ และอยู่ระหว่างการปฏิบัติ ตามระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจ่ายเงินให้ความช่วยเหลื อต่อไป 5) ด้านสวัสดิการสังคมและความมั่ นคงของมนุษย์ ทีมปฏิบัติการระดับจังหวัด ได้เร่งดูแล เยียวยา กลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุ คนพิการ เด็ก ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ ผู้ป่วยติดเตียง พร้อมจัดทีมนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา นักพัฒนาสังคม ออกเยี่ยมบ้าน ให้คำปรึกษา แนะนำ บำบัด ฟื้นฟูจิตใจและให้ความช่วยเหลื อที่จำเป็นด้านอื่น ๆ และ 6) ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้ส่งทีมปฏิบัติการด้ านการแพทย์เข้าดูแลประชาชนทั้ งด้านสุขภาพกายและจิตใจอย่ างใกล้ชิด มีการสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ และเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคที่อาจมีการระบาดในพื้ นที่
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวเพิ่มเติมว่า กองบัญชาการป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ จะยังคงกำกับ ติดตาม ประสาน และสนับสนุนการปฏิบัติงานของจั งหวัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อเร่งพื้นฟูให้ ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้ ตามปกติโดยเร็ว.
กองสารนิเทศ สป.มท.
ครั้งที่ 179/2562