เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 67 นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า จังหวัดลำปาง จัด “โครงการปฏิบัติการแบบ กล้วย กล้วย โคก หนอง นา ลำปาง 2024” ซึ่งเป็นโครงการฯ ที่จัดโดยไม่ใช้งบประมาณ ภายใต้ 4 กิจกรรม ได้แก่ ปลูก (กล้วย 18,750 ต้น) แบ่ง(ต้นกล้วย 3,540 ต้น) ปัน(CSR คาราวานกล้วยๆ) ปั้น(เป็นกลุ่ม/ผลิตภัณฑ์) แต่ง(ยกระดับเป็น โคก หนอง นา อารยเกษตร) ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” ด้วยการแบ่งปันต้นกล้วยให้กับสมาชิกเครือข่าย โคก หนอง นา นำไปปลูกที่แปลง ซึ่งพัฒนาชุมชนอำเภองาว ได้ขับเคลื่อนโครงการฯ ร่วมกับโครงการส่งเสริมการเรียนรู้การจัดสวัสดิการสังคมบนพื้นที่สูง โดย ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดลำปาง นำโดย นางวิลัยลักษณ์ ม่วงงาม พัฒนาการอำเภองาว พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและเจ้าหน้าที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.) ร่วมกับนางปิยะนาถ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดลำปาง นายนิคม พงษ์ปรัชญา ปลัดอำเภอ กำนันตำบลนาแก และเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ “โคก หนอง นา โมเดล” บ้านแม่ฮ่าง ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการปฏิบัติการแบบกล้วย กล้วย โคก หนอง นา ลำปาง 2024 ร่วมกิจกรรม
นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับศูนย์เรียนรู้ต้นแบบตามแนวทาง 5P และส่งเสริมการขับเคลื่อนกิจกรรม และการมีส่วนร่วมแบบ 360 องศา โดยการมีส่วนร่วมของเจ้าของแปลงพื้นที่ เครือข่าย โคก หนอง นา ระดับจังหวัดและระดับอำเภอ สู่กิจกรรม ปลูก-แบ่ง-ปัน-ปั้น-แต่ง และโครงการดังกล่าวฯ มีความคาดหวังว่าจะสามารถสร้างแปลง โคก หนอง นา ต้นแบบ มีการยกระดับการพัฒนาตามแนวทาง 5P และสร้างกลไกเครือข่าย ให้มีความเข้มแข็ง เป็นรูปธรรมสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงศักยภาพและบริบทของชุมชนและสามารถสร้างรายได้ให้ครัวเรือนต้นแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียงต่อไป ร่วมกับโครงการส่งเสริมการเรียนรู้การจัดสวัสดิการสังคมบนพื้นที่สูง กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนบนพื้นที่สูง (ศรส.) ขั้นตอนที่ 2 ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมตามแผน โดย ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดลำปาง ณ พื้นที่ทำการเกษตรของครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life, HLM) ระดับครัวเรือน (งบเงินกู้) ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 พื้นที่แปลงขนาด 3 ไร่ ครัวเรือนนางสาวปนัดดา ปิ่นเงิน บ้านเลขที่ 11/2 บ้านแม่ฮ่าง หมู่ที่ 4 ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวัดลำปาง
“กิจกรรมครั้งนี้ ยังประกอบด้วยกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น 1.กิจกรรมการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่ปฏิบัติการปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตามโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา ซึ่งการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่การปฏิบัติปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยได้ปลูกพืชผักสวนครัวและสมุนไพร เช่น ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ผักชีฝรั่ง ผักกาดดอก ผักคะน้า พริกกะเหรี่ยง พริกขี้หนู มะเขือยาวเขียว มะเขือยาวม่วง มะเขือเจ้าพระยา มะเขือเทศ ผักบุ้งจีน ปูเลย จิงจูฉ่าย โหระพา ผักสลัด เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อขับเคลื่อนให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยการปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานเอง และแบ่งปันในชุมชนได้ 2. กิจกรรม “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” โดยบูรณาการขยายผลดำเนินการสร้างคลังอาหารชุมชน ปลูกไม้ผลในพื้นที่สาธารณะ เช่น มะกรูด มะนาว มะขาม มะละกอ ลูกหว้า ขี้เหล็ก มะไฟ มะกอกป่า มะม่วง ขนุน ฯลฯ ร่วมกับการปลูกผักสวนครัวและพืชสมุนไพร 3. กิจกรรมเอามื้อสามัคคี ได้แก่ การห่มดินด้วยฟาง เพื่อให้เกิดการเลี้ยงดิน ดินดูแลพืช 4. กิจกรรม “โคก หนอง นา มาดื่มมาดริ๊งค์” กับการดื่มกาแฟพันธุ์โรบัสต้า ที่เป็นผลผลิตของแปลงพื้นที่ต้นแบบดังกล่าว” นายชัชวาลย์ฯ กล่าวเพิ่มเติม
นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวในช่วงท้ายว่า จังหวัดลำปางได้บูรณาการขับเคลื่อนการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักทฤษฎีใหม่สู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และภูมิสังคม โดยดำเนินการร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำกลุ่ม/องค์กร คณะกรรมการเครือข่ายโคก หนอง นา 7 ภาคีเครือข่ายการพัฒนา พี่น้องประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้มีส่วนร่วมผลักดัน และสนับสนุนให้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ และขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกคนช่วยกันสร้างการรับรู้ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เห็นผลเป็นรูปธรรม สามารถนำมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน
#WorldSoilDay #วันดินโลก #UN #FAO #GlobalSoilPartnership #MOI #กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข #SoilandWaterasourceoflife #SustainableSoilandWaterforbetterlife #ดินดีน้ำดีชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน #SDGsforAll #ChangeforGood
กองสารนิเทศ สป.มท.
ครั้งที่ 937/2567 วันที่ 25 พ.ค. 2567